ประวัติความเป็นมา
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุเป็นภาควิชาสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีประกาศพระราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งเป็นภาควิชาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 ภาควิชารับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนา และการบริการวิชาการแก่สังคมทางด้านเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ พอลิเมอร์ เซรามิกส์ แก้ว และวัสดุผสม มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการผลิตชิ้นงาน โดยใช้สำหรับการปาดผิว การตัด การอบชุบ การชุบเคลือบผิว และการใช้วัสดุวิศวกรรมเพื่อเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์รวมถึงลดต้นทุนการผลิต ภาควิชาได้เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ และวัสดุ ในปีการศึกษา 2536 ปัจจุบันภาควิชาได้เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ได้แก่สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุและสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หลักสูตรปริญญาโทและเอก 1 หลักสูตร คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุและนวัตกรรมการผลิต
วิสัยทัศน์
มุ่งก้าวไปสู่ ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการในระดับประเทศ โดยมุ่งสร้างชื่อเสียงแลเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคมของประเทศ
พันธกิจหลัก
มุ่งสร้าง ความเป็นเลิศด้านวิชาการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมเครื่องมือ และวิศวกรรมวัสดุเพื่อเพิ่มคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม โดยภาควิชาจะปฏิบัติหน้าที่ทางด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนาการบิการวิชาแก่สังคม และการทนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้บัณฑิตที่ผลิตออกไปเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมและมีประโยชน์เป็นที่ยอมรับของสังคม
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การจัดทำหลักสูตร การวิจัยและพัฒนาโดยมีความร่วมมือกับ
- มหาวิทยาลัย Hannover สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
- มหาวิทยาลัย Kassel สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
- สถาบัน Nippon Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ทางภาควิชาฯ ยังมีความร่วมมือในการทำงานวิจัยอย่างไม่เป็นทางการกับ
- มหาวิทยาลัย Tokai University ประเทศญี่ปุ่น
- มหาวิทยาลัย Waseda ประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ทางภาควิชาฯ ยังได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดตั้งเครือข่ายสาขาวิศวกรรมวัสดุขึ้น ด้วยความสนับสนุนของศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เพื่อประสานงานทางด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้และงานวิจัยตลอดจนคณาจารย์กลุ่มวิศวกรรมวัสดุ ระหว่างมหาวิทยาลัย ที่จัดการเรียนการสอนในสาขาวิศวกรรมวัสดุ ทั่วประเทศ นอกจากนั้นในปัจจุบันยังได้ทำงานวิจัยร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธอีกด้วย